ทุกครั้งที่เดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อทำอะไรสักอย่าง จะต้องผ่านการตรวจวัดหา ค่าความดัน เป็นอันแรกก่อนจะเข้าพบหมอ
แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเครื่องความดันที่มีตัวเลขโชว์ขึ้นมาเต็มไปหมด จะประกอบด้วยค่าอะไรบ้าง ….ลองมาชมบทความ แนะนำ! วิธีเช็คดู ค่าความดัน ค่าชีพจร แบบเข้าใจง่ายๆ จงอย่ามองข้ามเรื่องสุขภาพ! นี้กันเลยดีกว่า ….

#ความดันโลหิต คืออะไร
ความดันโลหิต หรือความดัน คือ ความดันในหลอดเลือดที่ประกอบไปด้วย 2 ค่า ดังนี้ ….
- ความดันโลหิตตัวบน ตัวย่อ SYS – ( Systolic Blood Pressure ) คือ ความดันที่อยู่ในหลอดเลือด ขณะหัวใจบีบตัว
- ความดันโลหิตตัวล่าง ตัวย่อ DIA – ( Diastolic Blood Pressure ) คือ ความดันที่อยู่ในหลอดเลือด ขณะหัวใจขยายตัว หรือคลายตัว
#ค่าความดัน ปกติ ( ยังชิวๆ )
ค่าความดันโลหิตของคนปกติ ( ยังชิวๆ ) จะแบ่งได้ตามนี้
- ค่าความดันโลหิตตัวบน ไม่เกิน 120
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง ไม่เกิน 80
#ค่าความดัน เริ่มสูง ( ปรึกษาหมอ )
ค่าความดันโลหิตที่เริ่มสูงขึ้น ( ปรึกษาหมอ ) จะแบ่งได้ตามนี้
- ค่าความดันโลหิตตัวบน อยู่ระหว่าง 121-139
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง อยู่ระหว่าง 81-89
#ค่าความดัน สูงมาก ( ไปหาหมอซะ )
ค่าความดันโลหิตสูงมาก ( ไปหาหมอ ) จะแบ่งได้ตามนี้
- ค่าความดันโลหิตตัวบน อยู่ระหว่าง 140-159
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง อยู่ระหว่าง 90-99
#ค่าความดัน โครตอันตราย ไปหาหมอด่วน!
ค่าความดันโลหิต ที่โครตอันตราย ( ไปหาหมอด่วนที่สุด! ) จะแบ่งได้ตามนี้
- ค่าความดันโลหิตตัวบน 160 ขึ้นไป
- ค่าความดันโลหิตตัวล่าง 100 ขึ้นไป
#ข้อควรรู้ก่อนวัดดู ค่าความดัน
ก่อนจะทำการวัด ค่าความดัน ควรนั่งพักนิ่งๆก่อน 5-10 นาที แล้วค่อยทำการวัด เนื่องจากการเดินเร็ว ขึ้นบันได หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรง จะทำให้มี ค่าความดันสูงขึ้น
*** ย้ำว่านั่งพักก่อนค่อยวัดความดัน ไม่งั้นอาจจะต้องไปต่อคิวรอวัดความดันใหม่ ( ต่อคิวที่โรงพยายบาลนานมาก ) ***
#การวัดชีพจร
การวัดชีพจร คือ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เสียงตุบๆ โดยการวัดชีพจรของแต่ละวัย จะแตกต่างกัน
ค่าชีพจร เกณฑ์ ปกติ
- ผู้ใหญ่ ค่าชีพจร อยู่ระหว่าง 60-80 ครั้ง/นาที
- เด็ก ค่าชีพจร อยู่ระหว่าง 60-80 ครั้ง/นาที
- ทารก ค่าชีพจร อยู่ระหว่าง 120-130 ครั้ง/นาที
#วิธีวัดชีพจรด้วยตัวเอง
วิธีวัดชีพจร หรือการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ สามารถวัดได้หลายจุดในร่างกาย จุดที่นิยมมากที่สุดคือ “ข้อมือ” โดยเริ่มจาก หงายมือข้างหนึ่งไว้ และนำมืออีกข้างโดยใช้ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง วางไว้ที่ข้อมือข้างที่หงาย
**จับเวลา 1 นาที นับว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง**
และแน่นอน เราก็สามารถวัดชีพจรได้จากบริเวณอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย ….
- ข้อมือ ( นิยมมากที่สุด ) เนื่องจากข้อมือจะสามารถรับรู้ถึงแรงการบีบ และขยายตัวของหลอดเลือดได้มากที่สุด
- ลำคอ
- ขมับ
- ต้นแขน
- ขาหนีบ
#ศัพท์ควรรู้
- Medical คือ แพทยศาสตร์
- Health คือ สุขภาพ
- Hypertension หรือ High blood pressure คือ ความดันสูง หรือความดันโลหิตสูง
- Sphygmomanometer คือ เครื่องวัดความดัน
- Systolic Blood Pressure ตัวย่อ SYS คือ ความดันโลหิตตัวบน
- Diastolic Blood Pressure ตัวย่อ DIA คือ ความดันโลหิตตัวล่าง
- mmHg คือ มิลลิเมตรปรอท ( หน่วยใช้สำหรับดูค่าความดันโลหิต )
- Pulse หรือ Pulse rate ตัวย่อ PR คือ ค่าชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
- Heart rate ตัวย่อ HR คือ อัตราการเต้นของหัวใจ
สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการมีสุขภาพแข็งแรง สามารถวิ่งได้เหมือน คุณลุง อำนาจ พรหมภินันท์ นักวิ่งแนวดิ่งระดับโลก ลองอ่านบทความที่ Link ด้านล่างนี้เลย
อ่านบทความ คุณลุงวัยสูงอายุ ผู้พิชิตยอดตึกสูงระฟ้า ในฐานะ นักวิ่งแนวดิ่งระดับโลก ได้ที่นี่
หากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ อย่าลืม comment, share หรือ tag เพื่อแนะนำเพื่อนของคุณ
#NOWASU #NOWASUCO #Medical #Health #ความดัน #วิธีดูค่าความดัน #ชีพจร #วิธีวัดชีพจร
Source
คำศัพท์ทางการแพทย์ / Medthai / Medscape